มาทำความรู้จัก Hospital Platform Consultant อาชีพแห่งอนาคต
โลกหลังโควิด-19 อุตสาหกรรมที่น่าจะเติบโตอย่างมากคืออุตสาหกรรมโรงพยาบาล เพราะความตื่นตัวเรื่องการเจ็บป่วยและสุขภาพของคนทั่วโลก
อุตสาหกรรมโรงพยาบาลก็เหมือนกับทุกอุตสาหกรรมในโลกยุคดิจิตัลอื่นๆ คือต้องการระบบซอฟท์แวร์ และแพลตฟอร์มเข้าไปช่วยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
อาชีพที่น่าสนใจ และน่าจะเป็นที่ต้องการอย่างมากในอนาคตคือ อาชีพที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในเรื่องการนำระบบดิจิตัลเข้าไปช่วยในธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่งก็คือ Hospital Platform Consultant
Hospital Platform Consultant หรือที่ปรึกษาระบบแพลตฟอร์มด้านสุขภาพ มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพในการพัฒนาระบบ HIS (Hospital Information System), Patient Mobile Application, Data Science & Machine Learning for Hospital
ตำแหน่งนี้มีความท้าทายอย่างมากเพราะมีโจทย์ใหญ่คือการออกแบบระบบและกระบวนการในการให้บริการด้านสุขภาพแบบ End-to-End
ตัวอย่างเช่น บริษัทได้รับโจทย์จาก รพ แห่งหนึ่ง ในการออกแบบระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการหอภิบาลผู้ป่วยวิกฤต (ICU Ward)
สิ่งแรกที่ต้องทำคือ Hospital Platform Consultant ต้องออกแบบระบบที่ใช้ในการเก็บและจัดการข้อมูล ค่าวัดสัญญาณชีพ (Vital Signs) ซึ่งใช้ในการประเมินสภาวะของผู้ป่วย ข้อมูลทางการรักษาที่พยาบาล ข้อมูลห้องปฎิบัติการ (Laboratory) ข้อมูลรังสีวิทยา (X-ray) รวมไปถึงข้อมูลที่แพทย์ต้องทำการบันทึกเช่น การวินิจฉัย และ คำสั่งแพทย์ต่างๆ
ที่ปรึกษาต้องออกแบบระบบที่ใช้ในการสั่งและบริหารจัดการยา เวชภัณฑ์ และสินค้าอื่นๆทางการแพทย์ ซึ่งระบบที่ใช้จัดการสินค้าเหล่านี้จะมีความซับซ้อนกว่าระบบการจัดการคลังสินค้าทั่วไป
อาทิเช่น ในยาตัวหนึ่งอาจจะมียาที่สามารถทดแทนกันได้ ดังนั้นระบบต้องเข้าใจและแยกแยะ Generic name จาก Trade name เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานสามารถเลือกทดแทนได้ หรือในการสั่งยาหรือเวชภัณฑ์ต้องสอดคล้องกับผลการวินิจฉัยทางการแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถสั่งโดยไร้การวินิจฉัยอ้างอิงได้ หรือการใช้ยาไม่หมดในครั้งเดียว ต้องสามารถจัดการและคำนวณในการใช้บางส่วนได้ เป็นต้น
Hospital Platform Consultant ต้องเข้าใจในบริบทเรื่องการเงินและการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลนอกจากตัวผู้ป่วยเองแล้ว ยังจะมี Payer อื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อาทิเช่น บริษัทประกัน, กรมบัญชีกลาง, กองทุนประกันสังคม, กองทุน สปสช. รวมถึงกองทุนอื่นๆ เป็นต้น
ซึ่งการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยในแต่ละ Payer ก็จะมีกฏเกณฑ์และรายละเอียดที่ซับซ้อน ระบบจะต้องสามารถช่วยผู้ปฎิบัติงานให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่าย และเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ในกรณีของ ICU Ward ที่ปรึกษาต้องทำความเข้าใจกฏเกณฑ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยหอวิกฤติ และออกแบบระบบให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ดังกล่าว
การบริการสุขภาพโดยทั่วไปนั้น ทรัพยากรสำคัญที่มีอย่างจำกัด คือ เวลาของบุคลากรทั้ง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ อาทิเช่น ในกรณีของ ICU Ward การบริหารจัดการการเข้าเวรของพยาบาลที่มีอย่างจำกัดในการดูแลผู้ป่วยจำนวนมาก จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นต้น
ระบบที่ดีจึงต้องสามารถช่วยในการบริหารจัดการเวลาของแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจัดการเวลาในการใช้บริภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีอย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
จะเห็นได้ว่า Hospital Platform Consultant ต้องสามารถที่จะเข้าใจ Experience ในการใช้งานของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ คนไข้ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฝ่ายการเงิน และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ
รวมทั้งเข้าใจกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่สำคัญ 4 เรื่อง ได้แก่
- กระบวนการวินิจฉัย และรักษาทางการแพทย์
- การบริหารจัดการเรื่องยา เวชภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ
- การบริหารจัดการการเงิน และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
- การบริหารจัดการเวลาของบุคลากร และบริภัณฑ์การแพทย์
คนที่สามารถรับหน้าที่ Hospital Platform Consultant สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มแรก คือคนสายคอมพิวเตอร์ & ดิจิตัล ที่สนใจด้านบริการสุขภาพ & วิทยาศาสตร์
เช่น คนที่จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering),วิศวกรรมสาขาอื่นๆ (Any Engineering Discipline), วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science), เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
กลุ่มนี้จะมีความได้เปรียบในเรื่องความรู้ความเข้าใจในซอฟท์แวร์และระบบดิจิตัล ส่วนในบริบทของความรู้และบริการทางการแพทย์ สามารถรับการอบรมเพิ่มเติมและเรียนรู้จากหน้างาน (on-the-job training) เพื่อผสมผสานความรู้ทั้งสองสาขาเข้าด้วยกัน
กลุ่มที่สอง คือคนสายบริการสุขภาพ & วิทยาศาสตร์ ที่สนใจด้านคอมพิวเตอร์ & ดิจิตัล
เช่น คนที่จบ พยาบาล (Nursing), วิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Technology, สหเวชศาสตร์ (Allied Health Science), เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Medicine), เวชศาสตร์การกีฬา (Sports Medicine), ชีววิทยา (Biology), เคมี (Chemistry), เภสัชศาสตร์ (Pharmacy), แพทยศาสตร์ (Medicine)
กลุ่มนี้จะมีความได้เปรียบในเรื่องพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ รวมถึงบริการทางการแพทย์ สามารรับการอบรมเพิ่มเติมสร้างความเข้าใจในซอฟท์แวร์และระบบดิจิตัล เพื่อผสมผสานความรู้ทั้งสองสาขาเข้าด้วยกัน
สำหรับคนที่สนใจงานที่ท้าทาย มีการผสมผสานกันของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังเช่น Hospital Platform Consultant สามารถเข้ามาร่วมงานกันได้ที่ บริษัท มอร์ อิสเฮลท์ (Mor IsHealth) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบโรงพยาบาล
ติดต่อสอบถามและส่ง resume มาได้ที่ join@mor.company